ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด > โพสขายออนไลน์ฟรี

อาการของโรควัณโรค (Tuberculosis)

(1/1)

siritidaphon:
อาการของโรควัณโรค (Tuberculosis)


การวินิจฉัยวัณโรค วัณโรค (Tuberculosis)

อาการของวัณโรคมักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในระยะแสดงอาการแล้วเท่านั้น หากมีอาการเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์โดยแพทย์จะสอบถามอาการ ตรวจดูลักษณะของต่อมน้ำเหลืองว่ามีอาการบวมหรือไม่ และฟังเสียงการทำงานของปอดในขณะที่หายใจ

จากนั้นแพทย์อาจให้ตรวจหาเชื้อวัณโรคในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นวัณโรค มีความเสี่ยงจากการสัมผัสกับบุคคลที่เป็นวัณโรค และปัญหาสุขภาพที่เสี่ยงต่อวัณโรคระยะแสดงอาการ โดยอาจใช้วิธีการตรวจ ดังนี้


การทดสอบทูเบอร์คูลินทางผิวหนัง (Tuberculin Skin Test: TST)

วิธีนี้เป็นการทดสอบปฏิกิริยาทางผิวหนังต่อเชื้อวัณโรค โดยแพทย์จะฉีดยาซึ่งเป็นโปรตีนสารสกัดจากเชื้อวัณโรค (Purified Protein Derivative: PPD) ใต้ชั้นผิวหนังบริเวณท้องแขนทิ้งไว้ประมาณ 48–72 ชั่วโมง หากพบว่ามีความเปลี่ยนแปลงที่บริเวณรอยฉีดยา แสดงว่าผู้ป่วยมีเชื้อวัณโรค

อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล เนื่องจากผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคมาก่อนอาจได้รับผลตรวจเป็นบวกแม้จะไม่ได้ติดเชื้อวัณโรค และบางครั้งผลการตรวจที่เป็นลบอาจไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ป่วยไม่ติดเชื้อ แต่อาจเกิดจากร่างกายของผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการทดสอบ

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติที่ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อวัณโรคแต่ผลออกมาเป็นว่าไม่ติดเชื้อ แพทย์ก็อาจสั่งตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อความแน่ใจได้เช่นกัน


การตรวจเลือด

การตรวจเลือด (Interferon Gamma Release Assay: IGRA) จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีเชื้อวัณโรคในร่างกายหรือไม่ อีกทั้งยังช่วยยืนยันได้อีกว่าเชื้อวัณโรคนั้นอยู่ในระยะแฝงหรือระยะแสดงอาการ


การตรวจเสมหะ

หากมีเชื้อวัณโรคในปอดหรือกล่องเสียงจะตรวจพบจากการตรวจเสมหะ โดยให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ 2-3 ครั้ง ไอจากส่วนลึกของทรวงอกและบ้วนเสมหะใส่ถ้วยเก็บเสมหะ และนำเสมหะไปตรวจด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเป็นวิธีการตรวจแบบพื้นฐานที่สามารถระบุเชื้อวัณโรค หรือวิธีเพาะเชื้อ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถสั่งจ่ายยาที่ให้ผลในการรักษาที่ดีที่สุดได้


การเอกซเรย์ทรวงอก

การเอกซเรย์ทรวงอกจะช่วยให้แพทย์ได้เห็นความผิดปกติของปอด หรือสภาพของปอดในขณะนั้นได้ ช่วยบ่งบอกว่าเป็นวัณโรคปอดหรือไม่

นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น

    การตรวจด้วยวิธีซีทีสแกน (CT Scan) ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อวัณโรคตามอวัยวะต่าง ๆ ได้
    การตรวจด้วยการส่องกล้อง (Endoscopy) มักจะใช้กับผู้ป่วยวัณโรคที่มีอาการแสดงที่อวัยวะอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เห็นร่องรอยของการติดเชื้อวัณโรคได้
    การตรวจน้ำไขสันหลัง (Lumbar Puncture) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของวัณโรคที่สมองและระบบประสาท การเจาะน้ำไขสันหลังจะช่วยให้แพทย์ยืนยันผลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version