ลงประกาศฟรี ทุกหมวดหมู่ โพสฟรี รองรับSeo และ youtube

ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด => โพสขายออนไลน์ฟรี => ข้อความที่เริ่มโดย: admeadme ที่ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023, 14:38:48 น.

หัวข้อ: โรคไตท้องผูก เสี่ยงไหม เกี่ยวข้องกันอย่างไร!
เริ่มหัวข้อโดย: admeadme ที่ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2023, 14:38:48 น.
(https://sv1.picz.in.th/images/2023/02/21/LL5RbN.md.jpg)
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตท้องผูก ปัญหายอดฮิตกับเรื่องราวที่คุณต้องรู้!
“โรคไต ท้องผูก (https://hhcthailand.com/constipation-in-kidney-disease/)” สองคำที่มักจะมาคู่กันเมื่อผู้ป่วยโรคไตเข้ามาพบแพทย์และเข้ามาฟอกไตในทุก ๆ เดือน เป็นสิ่งที่เราอยากมานำเสนอ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจในปัญหาของผู้ป่วยโรคไตท้องผูกกันให้มากยิ่งขึ้น เพราะผู้ป่วยหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วท้องผูกกับโรคไตเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันมากกว่าที่คิด!

5 Fact ของอาการท้องผู้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

#1 ภาวะท้องผูกเรื้อรังทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังลดลง
#2 ภาวะท้องผูกเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังและโรคหัวใจและหลอดเลือด
#3 ภาวะท้องผูกเรื้อรังมักจะพบได้บ่อยถึงร้อยละ 14-90 ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
#4 ผู้ป่วยโรคไตมักจะไม่รู้ว่าอาการท้องผูก เกิดขึ้นมาจากอะไร
#5 ผู้ป่วยโรคไตท้องผูกมักไม่รู้ว่าควรปรับพฤติกรรมอย่างไรและเลือกทานยาระบายแบบผิด ๆ

จะเห็นได้ว่าภาวะท้องผูกเรื้อรังนั้นพบเจอได้บ่อย ๆ ในผู้ที่เป็นโรคไต และที่สำคัญคืออาการนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังและโรคร้ายอื่น ๆ ตามมา ซึ่งผู้ป่วยมักจะหาสาเหตุไม่พบว่าแท้จริงแล้วผู้ที่เป็นโรคไตท้องผูกได้อย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ ในบทความนี้เราจึงได้รวมสาเหตุของภาวะท้องผูกเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน

3 สาเหตุของภาวะท้องผูกที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไต
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตมักมีสาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันจากการที่ไม่ค่อยได้ขยับตัว และสามารถออกกำลังกายได้ลดลง รวมถึงมักจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้


1. ผู้ป่วยโรคไตมีโรคประจำตัวอื่น ๆ หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคทางสมอง ไทรอยด์ทำงานลดลง ภาวะพาราไทรอยด์ฮอร์โมนสูง เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ และภาวะของเสียในร่างกายคั่ง
2. ยาสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบางตัวอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตท้องผูกได้ เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด แคลเซียม ธาตุเหล็กบำรุงเลือด และยาจับโพแทสเซียมในอาหาร
3. พฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออาการท้องผูก เช่น การดื่มน้ำไม่เพียงพอ การรับประทานผักและผลไม้น้อย และการมีพฤติกรรมการขับถ่ายที่ไม่ดี

ข้อควรระวัง! หากเป็นโรคไตและมีอาการท้องผูก ต้องอ่านสิ่งนี้
สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่กำลังสงสัยและเริ่มรู้สึกว่าตนเองมีอาการท้องผูก เราขอแนะนำให้อ่านสิ่งนี้ก่อนหาทางรักษาอาการด้วยตนเอง เพราะบางครั้งการรับมือกับอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคไตแบบผิด ๆ อาจทำให้เกิดอันตรายตามมาในอนาคตได้!

- การปรับพฤติกรรมเพื่อลดอาการท้องผูกแบบคนทั่วไปใช้ไม่ได้กับผู้ที่เป็นโรคไต ท้องผูก
สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตแล้วมีอาการท้องผูกหลายคนอาจไปศึกษาหาวิธีการปรับพฤติกรรมเพื่อให้อาการท้องผูกหายไป แต่รู้หรือไม่ว่าการปรับพฤติกรรมสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกกับโรคไตนั้นจะต้องมีความระมัดระวังมากกว่าคนทั่วไป เพราะการปรับพฤติกรรมบางอย่างอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นตามมาภายหลังได้

- การรับประทานยาที่ผิด ๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ยาระบายที่ใช้ในการรักษาอาการท้องผูกนั้นมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์เพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระ (bulk-producing agents) , ยาที่ออกฤทธิ์ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (Stool softeners) , ยาประเภทหล่อลื่น (lubricant/emollient) , ยาประเภทเพิ่มปริมาตรน้ำ (osmotic agents) , ยาประเภทกระตุ้น (stimulants) อย่าง bisacodyl, castor oil, cascara sennosides ซึ่งยาแต่ละตัวก็มีประสิทธิภาพ การออกฤทธิ์ และข้อควรระวังในการใช้สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่มีอาการท้องผูกที่แตกต่างกัน

แล้วผู้ป่วยโรคไตท้องผูก (https://hhcthailand.com/constipation-in-kidney-disease/)จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรับมือกับอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อย่างไร และหากเป็นโรคไต ท้องผูกควรเลือกรับประทานยาแบบใดจึงจะเหมาะสม สามารถเข้าไปไขข้อข้องใจได้ที่ https://hhcthailand.com/constipation-in-kidney-disease/