ผู้เขียน หัวข้อ: โปรแกรมหมอประจำบ้านอัจริยะ: โรคลำไส้แปรปรวน (lrritable bowel syndrome/IBS)  (อ่าน 1057 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 177
    • ดูรายละเอียด
โปรแกรมหมอประจำบ้านอัจริยะ: โรคลำไส้แปรปรวน (lrritable bowel syndrome/IBS)

โรคลำไส้แปรปรวน (lrritable bowel syndrome/IBS)* (กลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า ไอบีเอส ก็เรียก) เป็นภาวะที่ลำไส้ทำหน้าที่ผิดปกติ โดยไม่มีพยาธิสภาพหรือความผิดปกติของโครงสร้างลำไส้ และโรคทางกายอื่นใด ก่อให้เกิดอาการปวดท้อง มีลมในท้องมาก ร่วมกับท้องเดินหรือท้องผูกแบบเรื้อรัง จัดว่าเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการท้องเดินเรื้อรัง ในกลุ่มประเทศตะวันตกพบโรคนี้ประมาณร้อยละ 10-20 ของคนทั่วไป ส่วนในบ้านเราจากการศึกษาเบื้องต้นพบประมาณร้อยละ 7 ของคนทั่วไป และพบประมาณร้อยละ 10-30 ของผู้ที่มีอาการท้องเดินเรื้อรังที่มาพบปรึกษาแพทย์

โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยสูงอายุ ส่วนใหญ่มักจะเริ่มมีอาการครั้งแรกตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป พบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี และหลังอายุ 60 ปีจะพบน้อยลง พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 1.5-3 เท่า และพบว่าผู้ที่มีประวัติโรคลำไส้แปรปรวนในครอบครัวมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนปกติทั่วไปประมาณ 2-3 เท่า

โรคนี้แม้จะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เป็นแรมปีหรือตลอดชีวิตก็ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือกลายเป็นโรคร้ายแรงแต่อย่างใด ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีสุขภาพแข็งแรงและทำงานได้เป็นปกติ

*แต่เดิมมีชื่อเรียกต่าง ๆ เช่น mucoid colitis, spastic colon, spastic bowel, irritable colon

สาเหตุ

โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม สภาพจิตใจ การเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วย (มีชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ที่แตกต่างจากคนปกติ) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท ระบบฮอร์โมน และสารเคมีต่าง ๆ (เช่น พรอสตาแกลนดิน ซีโรโทนิน แบรดิไคนิน เป็นต้น) ที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ผิดปกติไป กล่าวคือ ลำไส้ใหญ่มีความไวต่อสิ่งกระตุ้น (ได้แก่ ความเครียด อาหารบางชนิด) มีการเคลื่อนตัวเร็วกว่าปกติ (ทำให้ท้องเดิน) หรือช้ากว่าปกติ (ทำให้ท้องผูก) และมีการบีบตัวมากกว่าปกติ (ทำให้ปวดท้อง)

นอกจากนี้ยังพบว่า การติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ชักนำให้เกิดโรคนี้ได้ เรียกว่า โรคลำไส้แปรปรวนหลังติดเชื้อ (post-infectious IBS)

อาการ

มีลักษณะเฉพาะ คือ มีอาการปวดท้อง มีลมในท้อง ร่วมกับท้องเดิน ท้องผูก หรือท้องเดินสลับท้องผูก เป็น ๆ หาย ๆ เป็นแรมปี อาการเหล่านี้อาจเป็นต่อเนื่องทุกวัน หรือเป็นบางวันหรือบางช่วง ซึ่งนับรวม ๆ กันแล้วเป็นเวลามากกว่า 12 สัปดาห์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา อาการจะมีลักษณะและความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน หรือแต่ละช่วงเวลา ส่วนน้อยที่จะมีอาการมากจนผู้ป่วยต้องไปปรึกษาแพทย์

อาการปวดท้องมีลักษณะไม่แน่นอน อาจปวดบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ปวดตื้อ ๆ ปวดแปลบ ๆ หรือแน่นอึดอัด ไม่สบายท้อง ส่วนใหญ่จะปวดบริเวณท้องน้อยข้างซ้าย (บางรายอาจปวดทั่วท้อง) อาการจะทุเลาทันทีหลังถ่ายอุจจาระหรือผายลม

ผู้ป่วยมักมีลมในท้องมาก ท้องอืด เวลาถ่ายอุจจาระมักมีลมออกมาด้วย

ในรายที่มีอาการท้องเดินเป็นอาการเด่น จะมีอาการถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลวบ่อย (มากกว่า 3 ครั้ง/วัน) โดยมักมีอาการปวดท้องอยากถ่ายทันทีหลังกินอาหาร โดยเฉพาะมื้อที่กินอาหารหลังปล่อยให้ท้องว่างมานาน (เช่น มื้อเช้า) กินอาหารมาก กินเร็ว ๆ หรือกินอาหารชนิดที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ผู้ป่วยจะปวดท้องถ่ายแบบกลั้นไม่อยู่ ต้องเข้าห้องน้ำทันที บางรายอาจมีอาการเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด อยากถ่ายบ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เพิ่งถ่ายไปไม่นาน โดยทั่วไปมักถ่าย 1-3 ครั้งหลังอาหารบางมื้อ แล้วหายเป็นปกติ อาการไม่รุนแรง ไม่มีคลื่นไส้ อาเจียน ไม่มีภาวะขาดน้ำ และส่วนใหญ่หลังเข้านอนแล้วมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาถ่ายอุจจาระจนกระทั่งรุ่งเช้า

ในรายที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น จะมีอาการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็งขนาดเล็ก ถ่ายลำบาก ต้องออกแรงเบ่ง และมีอาการปวดบิดในท้องร่วมด้วย

บางรายอาจมีอาการท้องเดินสลับท้องผูกเป็นช่วง ๆ

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายมีมูกปนออกมากับอุจจาระ มูกนี้คือน้ำเมือก (mucus) ปกติที่เยื่อบุลำไส้หลั่งออกมาเพื่อให้ความชุ่มชื้น และปกป้องผิวลำไส้ ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีเลือดปน

บางรายอาจมีอาการปวดท้อง มีลมในท้อง โดยไม่มีอาการท้องเดินหรือท้องผูกร่วมด้วยก็ได้ คล้ายอาการอาหารไม่ย่อย หรือโรคกระเพาะอาหาร

ผู้ป่วยมักมีอาการกำเริบหรือรุนแรงขึ้นเนื่องจากสิ่งกระตุ้น ได้แก่

    ความเครียดทางจิตใจ วิตกกังวล ซึมเศร้า
    อาหารบางชนิด เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม อาหารเผ็ดจัด มันจัด กะทิ ข้าวสาลี หัวหอม กระเทียม ถั่วต่าง ๆ ผลไม้ น้ำหวาน น้ำผึ้ง แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต แยม หมากฝรั่ง โคล่า น้ำโซดา น้ำอัดลม เป็นต้น
    อาหารมื้อหนัก (กินปริมาณมาก) หรือกินอาหารหลังปล่อยให้ท้องว่างมานาน หรือกินอาหารเร็ว ๆ
    ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้ท้องผูกหรือท้องเดิน
    ขณะมีประจำเดือน
    การติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้

นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีภาวะอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคกังวลทั่วไป โรคซึมเศร้า อาหารไม่ย่อย ไมเกรน อาการปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดประจำเดือน ปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นไม่ได้ นอนไม่หลับ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อน
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นอกจากทำให้เกิดความวิตกกังวล กลัวเป็นโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรง หรือมีภาวะซึมเศร้า

บางรายอาจเป็นมากจนมีผลกระทบต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน

ในรายที่ถ่ายบ่อยหรือต้องเบ่งถ่ายมาก ๆ ก็อาจทำให้โรคริดสีดวงทวารกำเริบได้

การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกายเป็นหลัก

การตรวจร่างกายมักไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน นอกจากอาจพบอาการท้องอืด มีลมในท้องมาก

ในรายที่สงสัยว่าอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือดสดหรือถ่ายดำ ซีด ดีซ่าน เป็นต้น แพทย์จะทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารและ/หรือลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน

มีอาการปวดท้อง หรือแน่นท้อง นับระยะเวลาโดยรวมแล้วอย่างน้อย 12 สัปดาห์จากช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่จำเป็นต้องมีอาการอย่างต่อเนื่องทุกวัน

อาการปวดท้องหรือแน่นท้อง มีลักษณะ 2 ใน 3 อย่างต่อไปนี้

    อาการทุเลาหลังถ่ายอุจจาระ หรือ
    เมื่อมีอาการเกิดขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงความถี่ (จำนวนครั้ง) ของการถ่ายอุจจาระ หรือ
    เมื่อมีอาการเกิดขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอุจจาระ

หมายเหตุ
1. อาการต่อไปนี้ ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน

    จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระต่อวันผิดปกติ (มากกว่า 3 ครั้ง/วัน หรือน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์)
    ลักษณะอุจจาระผิดปกติ (เป็นก้อนแข็ง ถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายเหลว)
    มีอาการผิดปกติของการถ่ายอุจจาระ (ต้องเบ่งถ่าย ปวดท้องถ่ายทันทีจนกลั้นไม่อยู่ หรือรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด ต้องวิ่งเข้าห้องน้ำถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ)
    ถ่ายเป็นมูกปนมากับอุจจาระ
    มีอาการท้องอืด มีลมในท้องมาก

2. อาการต่อไปนี้ ทำให้นึกถึงโรคนี้น้อยลง และควรหาสาเหตุอื่น

    ซีด
    เลือดออกในทางเดินอาหาร
    ไข้
    ท้องเดินอย่างต่อเนื่อง
    ท้องผูกรุนแรง
    น้ำหนักลด
    ปวดท้อง และถ่ายอุจจาระหลังนอนหลับตอนกลางคืน
    มีประวัติของมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว
    เริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป

การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การดูแลรักษาดังนี้

1. ถ้ามีอาการเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคลำไส้แปรปรวน จะซักถามประวัติอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบ (หากผู้ป่วยยังไม่ทราบชัดเจน แนะนำให้สังเกตและบันทึกไว้เมื่อมีอาการกำเริบใหม่) รวมทั้งให้คำแนะนำผู้ป่วยในการปฏิบัติตัว

สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก แนะนำให้ผู้ป่วยกินอาหารที่มีกากใยให้มากขึ้น ถ้าไม่ได้ผลแพทย์จะให้กินสารเพิ่มกากใย

สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเดิน แนะนำให้ผู้ป่วยลดการกินอาหารที่มีกากใย เพราะอาจทำให้ถ่ายท้องมากขึ้น

2. ถ้ายังไม่ได้ผล หรือมีอาการมากจนมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต แพทย์จะให้ยาบรรเทาตามอาการเป็นครั้งคราว เช่น ให้ไฮออสซีน (ซึ่งเป็นยาต้านการบีบเกร็ง) สำหรับอาการปวดบิดท้อง, โลเพอราไมด์ (ซึ่งเป็นยาระงับการถ่าย) สำหรับอาการท้องเดิน, ยาระบาย (เช่น เซนนา, ไบซาโคดิล) สำหรับอาการท้องผูก, ยาทางจิตประสาท สำหรับอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือนอนไม่หลับ เป็นต้น

หากให้ยาขั้นพื้นฐานบรรเทาอาการไม่ได้ผล หรือมีอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาชนิดใหม่ เช่น Alosetron (สำหรับผู้หญิงที่มีอาการท้องเดินเรื้อรัง), Ramosetron (สำหรับผู้ชายที่มีอาการท้องเดินเรื้อรัง), Lubiprostone (สำหรับผู้หญิงที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง) เป็นต้น

3. ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง มีอาการอ่อนเพลียหรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ่ายเป็นมูกปนเลือดเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือดสด หรือถ่ายดำ ซีด มีไข้ ท้องเดินอย่างต่อเนื่องทุกวันนานเกิน 1 สัปดาห์ ท้องผูกรุนแรง ลุกขึ้นถ่ายหลังนอนหลับตอนกลางคืน มีประวัติของมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว หรือเริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือสงสัยจะเกิดจากสาเหตุอื่น หรือให้ยาบรรเทาไม่ได้ผล แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติม (เช่น การใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารและ/หรือลำไส้ใหญ่) เพื่อหาสาเหตุ ถ้าตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติใด ๆ ก็จะให้การรักษาแบบโรคลำไส้แปรปรวน

ผลการรักษา มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง การรักษาเพียงช่วยบรรเทาอาการ และช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการท้องเดิน ท้องผูก ปวดท้อง หรือ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็น ๆ หาย ๆ บ่อย ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวน ควรดูแลรักษา และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้

    นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
    ผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีความเครียดเป็นเหตุกำเริบ เช่น ฝึกโยคะ รำมวยจีน ฝึกสมาธิ สวดมนต์ ทำงานอดิเรก เป็นต้น

    หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นเหตุกำเริบ (เช่น นม อาหารรสเผ็ด อาหารมัน ถั่วต่าง ๆ อะโวคาโด เบอร์รี แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำหวาน น้ำผึ้ง น้ำโซดา น้ำอัดลม เป็นต้น) กินอาหารช้า ๆ กินอาหารพออิ่ม หรือมื้อละน้อยแต่บ่อยขึ้น กินอาหารให้ตรงเวลาทุกวัน (อย่ากินเลยเวลามื้ออาหารหรืองดกินอาหารบางมื้อ)
    หลีกเลี่ยงยาที่มีผลให้เกิดอาการท้องผูกหรือท้องเดิน
    ในช่วงที่มีอาการท้องผูกกำเริบ ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ วันละประมาณ 8-12 แก้ว (2-3 ลิตร) และกินอาหารที่มีกากใยสูง (ผัก ผลไม้ ธัญพืช) ให้มาก ๆ
    ในช่วงที่มีอาการท้องเดินกำเริบ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ และงดอาหารที่มีกากใยสูง อาหารรสเผ็ด ชา กาแฟ แอลกอฮอล์

ควรกลับไปพบแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    มีอาการปวดท้องรุนแรง
    มีอาการลุกขึ้นถ่ายตอนดึก หรือถ่ายบ่อยทุกวันนานเกิน 1 สัปดาห์
    ถ่ายเป็นมูกมีกลิ่นเหม็น หรือมูกปนเลือด หรือเป็นเลือดสด หรือถ่ายอุจจาระดำ
    มีภาวะซีด
    มีอาการอ่อนเพลีย หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    มีไข้ร่วมด้วยทุกวัน นานเกิน 1 สัปดาห์
    เริ่มมีอาการครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปกินที่บ้าน ถ้ากินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา (เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ) ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด
    มีความวิตกกังวล

การป้องกัน

โรคนี้เป็นโรคประจำตัว มักเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี

ควรป้องกันไม่ให้กำเริบบ่อย ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ โดยหมั่นบันทึกประวัติการกำเริบของโรคว่าเกิดจากสาเหตุใดบ้าง แล้วพยายามหลีกเลี่ยง (งดบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นสาเหตุ) หรือจัดการแก้ไขเสีย (เช่น การจัดการและป้องกันความเครียด)

ข้อแนะนำ

1. ถึงแม้โรคนี้จะมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง และไม่มียารักษาโดยเฉพาะหรือให้หายขาด แต่ก็ไม่มีอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งไม่กลายเป็นมะเร็งหรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง เพียงสร้างความรำคาญหรือความลำบากในการคอยหาห้องน้ำ เวลาเดินทางออกนอกบ้าน หากจำเป็นก็สามารถใช้ยาบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว

2. ผู้ที่มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก หรือท้องเดินเรื้อรัง มักเกิดจากโรคลำไส้แปรปรวนเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พึงระวังว่า อาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนั้นควรตรวจดูอาการให้ถี่ถ้วนเสียก่อน ไม่ควรด่วนคิดว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวน

3. ในปัจจุบันยาที่รักษาโรคนี้เป็นเพียงยาที่ใช้บรรเทาอาการชั่วคราว เช่น ยาระบายแก้ท้องผูก ยาแก้ท้องเดิน มีข้อเสียว่าถ้าใช้มาก ก็จะมีผลข้างเคียงให้เกิดอาการตรงกันข้าม เช่น ยาระบายแก้ท้องผูก อาจทำให้มีอาการท้องเดินตามมา ยาแก้ท้องเดิน อาจทำให้มีอาการท้องผูกตามมา ดังนั้นควรเน้นการปรับพฤติกรรมตนเองเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต อาหารการกิน การออกกำลังกาย และการผ่อนคลายความเครียดเป็นหลัก ควรใช้ยาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น


 

































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า