ผู้เขียน หัวข้อ: เข้าใจโรคหัวใจ รู้ก่อน รักษาทัน ป้องกันได้  (อ่าน 3 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 370
    • ดูรายละเอียด
เข้าใจโรคหัวใจ รู้ก่อน รักษาทัน ป้องกันได้

หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญมากของร่างกาย เพราะหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะทุก ๆ ส่วนของร่างกาย จึงทำให้หัวใจเป็นอวัยวะที่ต้องทำงานหนักตลอดเวลา หัวใจเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีส่วนประกอบย่อย ๆ หลาย ๆ ส่วน เช่น ลิ้นหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ รวมไปถึงระบบไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งการที่หัวใจจะทำงานได้อย่างปกติได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ทำงานหรือต้องอยู่ในภาวะปกติด้วย

“โรคหัวใจ” เป็นคำที่ครอบคลุมถึงภาวะความผิดปกติต่าง ๆ ของหัวใจ และเมื่อหัวใจทำงานได้ไม่ดี ก็จะทำให้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ เนื้อเยื่อ และเซลล์ของร่างกายไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายตามมา เมื่อพูดถึงโรคหัวใจคนส่วนใหญ่มักนึกถึงโรคหลอดเลือดหัวใจมาเป็นอันดับแรกเพราะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อยเป็นอันดับต้น ๆ  อีกทั้งอัตราการเสียชีวิตยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่จริง ๆ แล้วนอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจโรคหัวใจยังแบ่งออกเป็นอีกหลายโรค แต่ละโรคมีอาการแสดงและสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ เช่น ในคนอายุน้อยมักพบโรคหัวใจชนิดพิการแต่กำเนิด กลุ่มผู้สูงอายุมักพบโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคของลิ้นหัวใจ หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งสามารถพบได้ในทุกช่วงวัยแม้ในผู้ที่เป็นนักกีฬาหรือผู้ที่ร่างกายแข็งแรง

โดยความอันตรายของโรคหัวใจแต่ละโรคขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรง และอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ บทความนี้จะพามาทำความรู้จักโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ว่ามีสาเหตุ อาการ และปัจจัยเสี่ยงที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อการป้องกันความเสี่ยงรวมทั้งดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง


โรคหัวใจคืออะไร?

โรคหัวใจ (heart disease) หมายถึง โรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ การนำไฟฟ้าของหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งส่งผลให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายโรค ซึ่งแต่ละโรคมีสาเหตุและอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไป


สัญญาณเตือนโรคหัวใจมีอะไรบ้าง?

แม้ว่าโรคหัวใจจะมีหลายโรค แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจมักมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือน ซึ่งหากสงสัย หรือพบว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

    เจ็บหน้าอก (Angina): เป็นอาการที่พบมากที่สุด ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บแน่นหรือรู้สึกว่ามีของมากดทับบริเวณกลางหน้าอกหรือด้านซ้ายของหน้าอก และอาจมีปวดร้าวไปที่แขน คอ หลัง หรือกราม
    หายใจไม่ออก (Shortness of Breath): รู้สึกหายใจไม่เต็มที่ หายใจลำบาก อาการนี้อาจเกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรมหรือในขณะที่ นั่ง หรือนอนพักก็ได้
    ใจสั่น (Palpitations): รู้สึกใจเต้นเร็ว ใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หรือใจเต้นแรงผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    อ่อนเพลีย (Fatigue): รู้สึกเหนื่อยล้าโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน
    เหงื่อออกมากผิดปกติ (Excessive Sweating): เหงื่อออกมากแม้ไม่ได้ออกกำลังกายหรืออยู่ในสภาพอากาศร้อน อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจ โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นพร้อมกับอาการเจ็บหน้าอก
    คลื่นไส้หรืออาเจียน (Nausea or Vomiting): อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก
    เวียนศีรษะหรือหน้ามืด (Dizziness or Lightheadedness): รู้สึกเวียนศีรษะ หน้ามืด หรือรู้สึกเหมือนจะกำลังหมดสติ
    ขาหรือข้อเท้าบวม (Swelling in Legs, Ankles, or Feet): การบวมที่ขาหรือข้อเท้าอาจเกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดภาวะน้ำเกินในร่างกาย
    ปวดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (Pain in Different Parts of the Body): อาจรู้สึกปวดหรือไม่สบายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น แขนซ้าย หลัง คอ หรือกราม อาการเหล่านี้มักเกิดร่วมกับอาการเจ็บหน้าอก


โรคหัวใจมีอะไรบ้าง?

    โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (coronary artery disease) เป็นโรคที่มีการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมา ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจแย่ลง จนอาจทำให้หัวใจไม่สามารถบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ไม่เพียงพอ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบยังสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นอีก 2 ประเภทคือ

        โรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบเฉียบพลัน (acute coronary syndrome)

        โรคหลอดเลือดหัวใจตีบแบบเรื้อรัง (chronic coronary syndrome)

    โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmias) เป็นโรคที่มีไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้หัวใจมีจังหวะการเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นเร็วเกินปกติ เต้นช้ากว่าปกติ หรืออาจมีเต้นผิดจังหวะบางช่วง ซึ่งการเต้นแบบผิดปกติของหัวใจเหล่านี้ บางชนิดอาจมีอันตรายจนอาจเสียชีวิตได้ เช่น โรคไหลตาย (Brugada syndrome) หรือการเต้นผิดจังหวะรุนแรงจากไฟฟ้าหัวใจของหัวใจห้องล่าง (ventricular tachycardia, ventricular fibrillation) บางชนิดไม่ทำให้เสียชีวิตแต่อาจทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์อัมพาตได้ เป็นต้น

    โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart diseases) เป็นโรคที่มีโครงสร้างของหัวใจผิดปกติ เป็นโรคที่เป็นตั้งแต่เกิด มักพบตั้งแต่เด็ก บางโรคอาจหายได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น แต่บางโรคไม่สามารถหายได้เองจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือการใส่อุปกรณ์เข้าไปในห้องหัวใจเพื่อปรับเปลี่ยนให้โครงสร้างของหัวใจกลับมาเป็นปกติ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างของหัวใจนั้นมีความผิดปกติมากน้อยแค่ไหน ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและมีผลการรักษาที่ดีที่สุด

    โรคลิ้นหัวใจ (valvular heart diseases) เป็นโรคที่ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติไป ซึ่งอาจเกิดจากมีการติดเชื้อ หรือความเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น ลิ้นหัวใจมีรูปร่างผิดปกติ หรือมีโรคหัวใจโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของลิ้นหัวใจ จนทำให้มีภาวะลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว ซึ่งอาจเกิดกับลิ้นหัวใจเพียงลิ้นเดียวหรือหลายลิ้นก็ได้

    โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiomyopathies) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติที่ตัวกล้ามเนื้อหัวใจเองโดยตรง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน การอักเสบ การติดเชื้อ หรือสาเหตุอื่น ๆ ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติไป

    ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย (heart failure) เป็นภาวะที่การทำงานของหัวใจแย่ลงมาก ๆ อาจเกิดจากโรคหัวใจอื่น ๆ ทำให้หัวใจเสียการทำงาน จนไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

    โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial diseases) เยื่อหุ้มหัวใจเป็นส่วนประกอบที่ห่อหุ้มอยู่ด้านนอกทำหน้าที่ช่วยปกป้องหัวใจ แต่หากมีโรคที่ทำให้ส่วนของเยื่อหุ้มหัวใจผิดปกติ เช่น มีการอักเสบและหนาตัวขึ้นของเยื่อหุ้มหัวใจ หรือมีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ก็จะทำให้มีผลต่อการทำงานของหัวใจได้ด้วยเช่นกัน


อาการของโรคหัวใจแต่ละโรค

    อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ : อาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบจะมีอาการแน่นหน้าอก บางคนมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับเจ็บร้าวไปกราม ลำคอ ปวดชาบริเวณแขนหรือขา รู้สึกไม่สบายเหมือนมีอะไรมากดทับบริเวณอก อ่อนเพลีย หายใจถี่ เหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หมดสติได้ และอาจเสียชีวิตได้
    อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ : รู้สึกหัวใจเต้นช้ากว่าปกติหรือเต้นเร็วและแรง ใจสั่น รู้สึกไม่สบายตัวหรือแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจถี่ เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลมหมดสติ
    อาการของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด : เป็นความบกพร่องของหัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มักแสดงอาการผิดปกติได้ตั้งแต่เป็นทารก เช่น หายใจถี่ เหนื่อยง่ายขณะให้กินนม น้ำหนักตัวน้อย หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นช้า ในรายที่มีความผิดปกติรุนแรงอาจมีผิวหนังหรือริมฝีปากซีดหรือเขียว เหนื่อยง่ายระหว่างออกกำลังกายหรือทำกิจกรรม มีอาการบวมตามมือ ข้อเท้า
    อาการของโรคลิ้นหัวใจ : โรคลิ้นหัวใจเกิดจากการตีบหรือรั่วของลิ้นหัวใจ หากเป็นในระดับที่รุนแรงจะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจถี่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ขาบวม เท้าบวม มีอาการน้ำท่วมปอด นอนราบไม่ได้ เป็นลมหมดสติ ซึ่งหากรุนแรงมากอาจทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาได้
    อาการของโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ : ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการแสดงชัดเจน แต่จะเริ่มแสดงอาการชัดเจนขึ้นเมื่อระยะของโรคเข้าสู่ระยะที่รุนแรง ในรายที่อาการรุนแรงมักพบอาการ หายใจถี่ จะรู้สึกหายใจไม่อิ่มในเวลากลางคืน ต้องสะดุ้งตื่นหรือลุกขึ้นมาเพื่อนั่งหายใจในเวลากลางคืนเหนื่อยง่ายเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม บวมบริเวณขา และข้อเท้า
    อาการของภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย : อาการของภาวะหัวใจล้มเหลวมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน อาการที่พบได้ ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจถี่ หายใจไม่ออกในเวลากลางคืน ต้องสะดุ้งตื่นหรือลุกขึ้นมาเพื่อนั่งหายใจในเวลากลางคืน เหนื่อยง่าย บวมตามขา ข้อเท้า หน้าท้อง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ไอแห้ง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ไม่สบายท้อง
    อาการของโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ : มักมีอาการเจ็บหน้าอก และจะมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่อหายใจเข้าลึก ๆ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อ่อนเพลีย บวมบริเวณร่างกายส่วนล่าง บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย


โรคหัวใจเกิดจากอะไร?

    สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
    สาเหตุที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการสะสมของคราบไขมันและเซลล์อักเสบต่าง ๆ  ที่ผนังของหลอดเลือดแดงที่ส่งไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงหรือตีบตัน ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ เกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
    สาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ ความดันสูง ประวัติพันธุกรรม โรคลิ้นหัวใจ ภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะหัวใจวาย การใช้ยาบางชนิด โรคของต่อมไทรอยด์ รวมไปถึงโรคนอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
    สาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
    เป็นโรคที่มีการพัฒนาโครงสร้างหัวใจผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์อาจเกิดจากมีโครโมโซมหรือพันธุกรรมที่ผิดปกติ การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ รวมไปถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิดของมารดาขณะตั้งครรภ์ด้วย
    สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจ
    เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ โรคไข้รูมาติก โรคทางพันธุกรรม โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ส่งผลต่อลิ้นหัวใจ อายุที่มากขึ้น ความผิดปกติของลิ้นหัวใจตั้งแต่เกิด เป็นต้น
    สาเหตุของโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ
    เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากโรคหรือการติดเชื้อบางอย่าง  โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การตั้งครรภ์ การให้ยาเคมีบำบัด การใช้สารเสพติด และสาเหตุทางพันธุกรรม
    สาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย
    มักมีสาเหตุจากโรคของระบบอื่น ๆ หรือโรคหัวใจอื่น ๆ ที่รุนแรงจนทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา เช่น การบาดเจ็บหรือติดเชื้อภายในหัวใจ ความดันสูง โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ
    สาเหตุของโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ
    สามารถเกิดได้จากการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจหลังการเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ โรคมะเร็งบางชนิด การอุดตันของของเหลวภายในเยื่อหุ้มหัวใจหรือเกิดการคั่งของเลือดในเยื่อหุ้มหัวใจ อย่างไรก็ตามในบางกรณีก็ไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้แน่ชัด


ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แบ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ และปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้

    พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย
    การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคอ้วน ความดันสูง คอเลสเตอรอลสูง และเบาหวาน ซึ่งโรคเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ
    การออกกำลังกายไม่เพียงพอ
    การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป เพราะจะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น และทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้นซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ
    การสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่จะไปทำลายหลอดเลือดให้เสียหายทำให้เป็นโรคหัวใจตามมาได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้

    อายุที่เพิ่มขึ้น
    เพศ
    พันธุกรรมและประวัติครอบครัว
    เชื้อชาติ


ใครบ้างเสี่ยงโรคหัวใจ

    ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ : หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจ จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
    ผู้สูงอายุ : อายุที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุเกิน 45 ปี และผู้หญิงที่มีอายุเกิน 55 ปี
    ผู้ชาย : ผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงในการเกิดโรคหัวใจในช่วงวัยกลางคน
    ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง : ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และทำให้มีภาวะหัวใจโตได้
    ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง : คอเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) สามารถนำไปสู่การสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคหัวใจ
    ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน : ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงสามารถทำลายหลอดเลือด
    ผู้ที่สูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอย่างมาก เพราะสารพิษในบุหรี่ทำลายหลอดเลือด
    ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน : น้ำหนักเกินเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เนื่องจากเพิ่มความดันโลหิตและคอเลสเตอรอล
    ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย : การขาดการออกกำลังกายทำให้สุขภาพหัวใจแย่ลง และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ
    ผู้ที่มีความเครียดสูง : ความเครียดที่สะสมสามารถทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ
    ผู้ที่รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ : การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เกลือ และน้ำตาลสูงเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ


ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ

ภาวะเทรกซ้อนของโรคหัวใจจะมีความแตกต่างกันออกไปตามชนิดของกลุ่มโรค โดยภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบบ่อย ได้แก่

    ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อหัวใจเสียการทำงานจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
    ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) เกิดจากมีการอุดตันกะทันหันของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือดและตายได้
    โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) โดยโรคหัวใจเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ทำให้เนื้อเยื่อสมองขาดเลือด เกิดเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตตามมาได้
    โรคหลอดเลือดโป่งพอง (aneurysm) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย เป็นการโป่งพองของหลอดเลือดแดง ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย และหากหลอดเลือดแดงนั้นโป่งพองมาก ๆ  อาจทำให้หลอดเลือดแตก ทำให้เลือดออกภายในและเสียชีวิตได้
    โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral arterial disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสียหายของหลอดเลือดส่วนปลายที่นำเลือดไปเลี้ยงแขนขาและอวัยวะส่วนปลาย จนทำให้อวัยวะเหล่านั้นขาดเลือด ซึ่งโรคนี้นับเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคหัวใจเพราะมีปัจจัยเสี่ยงเหมือนกับโรคหลอดเลือดหัวใจ
    ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (sudden cardiac arrest) คือการสูญเสียการทำงานของหัวใจอย่างกะทันหัน เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงจนหัวใจไม่บีบตัว จึงไม่มีเลือดไปเลี้ยงสมองและร่างกาย ทำให้หมดสติ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตทันที


การวินิจฉัยโรคหัวใจ

การวินิจฉัยโรคหัวใจสามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การซักประวัติ ตรวจร่างกายการสอบถามประวัติครอบครัว และอาการแสดงอื่น ๆ อย่างละเอียด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาการวินิจฉัยเบื้องต้น แพทย์มักจะส่งตรวจด้วยวิธีการอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น เช่น การตรวจเลือด การเอกซเรย์ทรวงอก และการตรวจพิเศษทางหัวใจด้วยเครื่องมืออื่น ๆ ตามความเห็นของแพทย์ เช่น

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography; ECG)
    การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram; Echo) หรือการอัลตราซาวนด์หัวใจ
    การเดินสายพานตรวจสมรรถภาพหัวใจ (exercise stress test; EST)
    การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (coronary angiography; CAG) 
    การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (coronary CT angiography; CT scan)
    การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (cardiac magnetic resonance imaging; CMR)
    การติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 24 หรือ 48 ชั่่วโมง (holter monitoring)


การรักษาโรคหัวใจ

การรักษาโรคหัวใจสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของโรคหัวใจแต่ละโรคซึ่งแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจจะทำการพิจารณาและประเมินการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้การรักษามากกว่า 1 วิธี ทั้งนี้แพทย์ต้องพิจารณาการรักษาเป็นราย ๆ ไป ซึ่งการรักษาโรคหัวใจประกอบด้วย

    การรักษาด้วยยา โดยพิจารณาจากโรคหัวใจที่ผู้ป่วยเป็น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และไม่ควรหยุดรับประทานยาหรือปรับขนาดของยาที่กินด้วยตัวเอง เพราะจะมีผลต่อการรักษา และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาภายหลังได้
    การรักษาด้วยการผ่าตัดหรือทำหัตถการ เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด (PCI) การจี้หัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด (EP study) การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร (permanent pacemaker) การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (implantable cardioverter defibrillator; ICD) การผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม และการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery bypass grafting; CABG) เป็นต้น
    การรักษาด้วยกายภาพและเวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคหัวใจโดยการดูแลของแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายให้หัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น


การป้องกันโรคหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจสามารถทำได้โดย

    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น
    ทำอารมณ์ให้แจ่มใส หลีกเลี่ยงความเครียด
    เลือกรับประทานอาหารที่มีเกลือและไขมันอิ่มตัวต่ำ
    ควบคุมความดันเลือด
    ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับไขมันให้อยู่ในค่าปกติ
    งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้งอย่างสม่ำเสมอ
    ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง
    พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
    รักษาสุขอนามัยป้องกันการติดเชื้อ
    รักษาสุขภาพช่องปาก

สรุป

โรคหัวใจถือเป็นโรคใกล้ตัว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และปัจจุบันมีแนวโน้มการเกิดโรคหัวใจในคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ เป็นโรคที่เป็นสาเหตุการตายของคนไทยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง เพราะการใช้ชีวิตในปัจจุบันทำให้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

 











































































กลยุทธ์การหาลูกค้าใหม่
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
วิธีการหาลูกค้าของ sale
วิธีหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
การหาลูกค้าใหม่ รักษาลูกค้าเก่า
ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า
เพิ่มฐานลูกค้าใหม่
รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

หากลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
ทําไงให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
เคล็ดลับขายของดี
ค้าขายไม่ดีทำอย่างไรดี
งานโพสโปรโมทงาน
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

ไม่รู้จะขายอะไรดี
อยากขายของดี
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
ขายสินค้าไม่สต๊อกสินค้า
เริ่มขายของออนไลน์
รับทำ seo ด่วน
smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

โพสกระตุ้นยอดขาย
วิธีกระตุ้นยอดขาย เซลล์
วิธีแก้ปัญหายอดขายตก
เริ่มต้นขายของ
แหล่งรับของมาขายออนไลน์
ขายของออนไลน์อะไรดี
อยากขายของออนไลน์
เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า